ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การดูแลสุขภาพการเงิน (Financial Health Check) เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของเราเองเพราะการตรวจสุขภาพทางการเงินทำให้สามารถประเมินสถานะทางการเงินในปัจจุบันเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนทางการเงินให้ได้ในอนาคตที่มั่นคงอย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นตรวจสุขภาพทางการเงินตั้งแต่ตอนนี้ คุณก็จะยิ่งเข้าใกล้กับอนาคตที่มั่นคงเร็วขึ้นเท่านั้น
การตรวจสุขภาพทางการเงิน คืออะไร
สุขภาพการเงิน (Financial Health Check) คือ การมีสภาวะทางการเงินที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับการดำรงชีวิต และยังเป็นรากฐานความมั่นคงทางการเงินในอนาคตอีกด้วย หากไม่อยากประสบปัญหาที่กวนใจในอนาคตการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินเพื่อวางแผนทางการเงินไว้รับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งคุณสามารถตรวจสุขภาพทางการเงินง่าย ๆ ด้วยตัวเองได้โดยใช้ 3 วิธีนี้
1. ประเมินสินทรัพย์อย่างครอบคลุม
การประเมินหรือตรวจสุขภาพทางการเงินเปรียบได้กับการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวม ที่สามารถประเมินผ่านสินทรัพย์กับหนี้สินที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังควรประเมิน “ทรัพย์สินที่ควรมี” ด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นคำนวณต้องเข้าใจถึงประเภทสินทรัพย์และหนี้สิน โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้
1.1 ประเภทสินทรัพย์
- สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสดและบัญชีเงินฝากเงินที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด
- สินทรัพย์เพื่อการลงทุน ได้แก่ ฝากเงินประจำ หุ้นทั้งหมดหรือกองทุนอื่น สลากออมทรัพย์ มูลค่าหุ้นโดยรวม หรืออื่น ๆ ที่ใช้จ่ายไปสำหรับการลงทุน
- สินทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินมีค่าที่สามารถขายได้ เช่น รถยนต์ บ้าน คอนโด หรือ ทอง เป็นต้น
1.2 ประเภทหนี้สิน
- หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต และสินค้าที่ผ่อนชำระภายใน 1 ปี.
- หนี้สินระยะยาว: สินเชื่อที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี เช่น สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อรถยนต์.
ซึ่งหลังจากที่ทราบแล้วว่าประเภทของสินทรัพย์และหนี้สินเป็นอย่างไร ก็สามารถเริ่มต้นประเมินสุขภาพทางการเงินได้จากการคำนวณหา “ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน” และ “ทรัพย์สินที่ควรมี” เพื่อนำไปเปรียบเทียบกัน
ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน = สินทรัพย์ – หนี้สิน
ทรัพย์สินที่ควรมี = อายุ x รายได้ต่อปี x 10%
ตัวอย่างเช่น นาย A มีอายุ 32 ปี มีเงินเดือน 50,000 บาท ถ้านาย A มีสินทรัพย์ปัจจุบันรวมทั้งหมด 5,000,000 บาท และหนี้สินรวมเป็น 2,500,000 บาท ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบันจะเท่ากับ 2,500,000 บาท
ส่วนทรัพย์สินที่ควรมี จะเท่ากับ 32 x (50,000 x 12) x (10/100) = 1,920,000 บาท
เมื่อนำทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบันและทรัพย์สินที่ควรมี ที่คำนวณออกมาข้างต้นนี้มาเปรียบเทียบกันจะได้
ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน : ทรัพย์สินที่ควรมี = 2,500,000: 1,920,000
จะเห็นได้ว่า ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน มากกว่า ทรัพยสินที่ควรมี แสดงว่า นาย A มีสุขภาพทางการเงินโดยรวมแข็งแรง
2. ประเมินหนี้สินที่ต้องใช้จ่ายต่อเดือนว่ามากเกินไปหรือไม่ ?
หากต้องการที่จะเริ่มต้นลงทุนในทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงในอนาคต หนี้สิน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน เพียงแต่หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ถ้ามีหนี้สินที่สามารถรับมือไหวก็ไม่ต่างอะไรกับไข้หวัด ที่ไม่นานก็หายได้และไม่ส่งผลอะไรกับชีวิตเท่าไหร่ เพียงแต่ว่า หากลงทุนจนเกินตัว หรือไม่ได้คำนึงถึงภาระหนี้สินว่าตนเองสามารถจัดการได้หรือไม่ นั่นก็อาจจะกลายเป็นหายนะทางการเงินได้เช่นกัน
โดยสามารถประเมินหนี้สินเบื้องต้นได้ด้วยการคำนวณง่าย ๆ ดังนี้
ภาระหนี้สินต่อเดือน = รายได้ต่อเดือน x ⅓
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้ 45,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นภาระหนี้สินจะต้องไม่เกิน ⅓ ของรายได้ต่อเดือน หรือ 15,000 บาท ถ้าหากมีหนี้สินมากกว่านั้น นาย A ก็จะต้องเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่ายในส่วนอื่นลงนั่นเอง
3. ประเมินเงินออมฉุกเฉิน ว่าเพียงพอหรือยัง?
เงินออมฉุกเฉินเองก็เป็นหนึ่งในการ ตรวจสุขภาพทางการเงิน ที่ไม่ควรมองข้ามเนื่องจาก สิ่งที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อย่างเช่นการเกิดอุบัติเหตุ ล้มป่วย หรือตกงานอย่างกะทันหัน ถ้าหากไม่ได้เตรียมเงินออมฉุกเฉินเอาไว้ให้เพียงพอ ก็อาจจะประสบปัญหาทางการเงินอย่างแท้จริงก็ได้ ดังนั้นแล้วการเริ่มออมเงินเผื่อเหตุฉุกเฉินตั้งแต่วันนี้จึงเป็นความคิดที่ดีไม่น้อย โดยเงินออมฉุกเฉินสามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
เงินออมฉุกเฉิน = รายจ่ายประจำต่อเดือน x 6
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายจ่ายต่อเดือนคือ 20,000 บาท ก็ให้นำไป คูณด้วย 6 จะได้จำนวนเงินออมฉุกเฉินที่ควรมีคือ 120,000 บาท เพื่อให้นาย A สามารถอยู่รอดเป็นเวลา 6 เดือน
การตรวจสุขภาพการเงินเป็นเหมือนการไปตรวจสุขภาพทางการแพทย์ที่ทำทุก ๆ 6 เดือน เพื่อช่วยระบุปัญหาและการแก้ไขเพื่อป้องกันการสะสมหนี้ที่รุนแรง
บริการตรวจสุขภาพทางการเงิน และ วางแผนการเงินให้เหมาะกับคุณด้วยคำแนะนำจาก บล.หยวนต้า
ไม่ว่าช่วงชีวิตไหนก็มีโอกาสที่ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินได้ ถ้าหากไม่ได้ตรวจสุขภาพทางการเงินหรือไม่มีแผนการทางการเงินรองรับเอาไว้ ตอนที่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านั้นคงจะเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ
ดังนั้น บล.หยวนต้า พร้อมเป็นตัวช่วยในการตรวจสุขภาพทางการเงิน และออกแบบวิธีวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับคุณ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย มีผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คอยช่วยวิเคราะห์ให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมมือกับคุณกำหนดเป้าหมายทางการเงินในอนาคตอย่างมั่นคงและมั่งคั่ง
หากมีความสนใจที่จะตรวจสุขภาพทางการเงิน หรืออยากเริ่มต้นวางแผนทางการเงิน แต่ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า วิธีวางแผนการเงิน แบบไหนเหมาะกับคุณ สามารถติดต่อ บล.หยวนต้า เข้ามาเพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้ได้เลย
Call Center: 0 2009 8888
Online Service: 0 2009 8000