การวางแผนการเงิน เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองและพาชีวิตให้เข้าสู่ความมั่นคงทางการเงิน อาจพูดได้ว่ายิ่งเริ่มเร็วเท่าใดก็ยิ่งบรรลุเป้าหมายทางการเงินเร็วเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าใคร ก็จำเป็นต้องรู้ วิธีวางแผนการเงิน เพื่อจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับการออมเงินตามเป้าหมายและรายจ่ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม หากใครที่มีครอบครัวก็จำเป็นต้องดูแลทั้งตนเองและคนในครอบครัว ทำให้ความรับผิดชอบและภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การวางแผนทางการเงินมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น

แม้กระทั่งเมื่อเกษียณอายุ ก็ยังต้องวางแผนการเงิน เพราะเป็นวัยที่มีรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังคงอยู่ หรืออาจสูงขึ้นในบางหมวด เช่น การรักษาพยาบาล ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่ดีก็อาจเกิดปัญหาได้

ดังนั้นแล้ว หากเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การรู้ วิธีวางแผนการเงิน เพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรให้ความสนใจ เพราะมันช่วยให้คุณได้เตรียมตัวรับมือได้ทันเวลา พร้อมยังช่วยปูเส้นทางสร้างอิสรภาพทางการเงินตลอดชีวิตคุณ

วิธีวางแผนการเงิน

วิธีวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ นั้นควรมีขั้นตอนชัดเจน สามารถเป็นไปได้ และสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา โดยหลักการแล้ว วิธีวางแผนการเงินมักจะประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ ได้แก่ เก็บเงินและจัดสรรอย่างไร มีระบบชัดเจน แบ่งเงินเก็บไปลงทุนและต่อยอดเพิ่มเติม เมื่อนำหลักการทั้ง 3 ข้อมาพิจารณาร่วมกัน ก็สามารถแยกย่อย ได้ 5 วิธีที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นวางแผนทางการเงินได้ดังต่อไปนี้

1.เริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 

เป็นจุดเริ่มต้นการวางแผนการเงินที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เห็นมีรายรับจากกี่ช่องทาง จำนวนทั้งหมดเท่าไร ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ทั้งรายจ่ายรายเดือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากจะรู้ว่าเงินของเราไปอยู่ตรงไหนบ้างแล้ว ยังทำให้เห็นว่าควรลดรายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็น และที่สำคัญคือ รายรับต้องมากกว่ารายจ่าย เพราะจะทำให้สามารถแบ่งเงินจากรายรับมาเก็บออมตามแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินของตนเองและยังช่วยให้วางแผนการเงินในอนาคตได้ดีขึ้น

2. วางแผนการออมเงินตามเป้าหมายชีวิต 

การมีเป้าหมายว่าจะออมเงินแต่ละก้อนไปเพื่ออะไร มันจะทำให้มีแรงผลักดันและความพยายามที่จะทำให้มันสำเร็จ ดังนั้น ควรตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อวางแผนการใช้เงินและกำหนดทิศทางการออมเงินให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ เช่น ต้องการเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ เที่ยวต่างประเทศ แต่งงาน เรียนต่อ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น

3. ออมเงินทันทีเมื่อมีรายรับ

นอกจากการเริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-ร่ายจ่าย การออมเงินทันทีเมื่อมีรายรับ จะช่วยสร้างวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเก็บเงินออมตามอารมณ์ทุกวัน มีโอกาสที่อาจจะหลงลืมได้ ดังนั้นเมื่อวางแผนการเงินให้เก็บเงินทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน จะช่วยให้มีเงินออมแน่นอน ลดการบริโภคเกินความจำเป็น และให้เข้มงวดต่อตนเองกับแผนการเงินที่วางเอาไว้ด้วย

4. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน 

เมื่อจัดสรรเงินอย่างเป็นระบบ แบ่งเงินอย่างชัดเจนว่าส่วนใดคือ รายจ่าย-เงินเก็บ จะทำให้การวางแผนการเงินง่ายขึ้น

ซึ่งสัดส่วนการแบ่งเงินที่แนะนำ คือ “60 - 30 - 10” โดยกำหนดให้

60 คือค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ หนี้สิน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ

30 เท่ากับ รายจ่ายรายวันที่เกี่ยวกับค่าเดินทาง ค่าอาหาร

10 หมายถึงจำนวนเงินออมที่ควรเก็บในแต่ละเดือน

ดังนั้นรายจ่ายทั้งหมดไม่ควรเกิน 90% ของรายได้ หากเกินกว่านี้การเงินจะตึงตัวเกินไป อย่างไรก็ตามการกำหนดให้ออมเงิน 10% ของรายได้ อาจเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผู้มีภาระ หรือผู้ที่มีรายได้ไม่มากเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หากเป็นเช่นนี้ สามารถปรับให้เก็บเงินเพียง 2% หรือ 5% ของรายได้ ตามสถานการณ์ก็ได้เช่นกัน

5. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝัน 

เนื่องจากชีวิตคนเรามักไม่แน่นอน หากพรุ่งนี้ต้องตกงาน กิจการขาดทุนหนัก หรือต้องใช้เงินก้อนโตกะทันหัน เงินสำรองฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องมีให้พร้อม ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อไรก็หยิบเงินก้อนนั้นมาใช้ได้เลย ซึ่งควรมีกระแสเงินสดอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น คุณมีรายจ่ายต่อเดือนทั้งหมด 10,000 บาท คุณจึงควรจะวางแผนการเงินและมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 30,000-60,000 บาท เพื่อให้สภาพคล่องยังดำเนินต่อไปแม้ชีวิตจะไม่เหมือนเดิมก็ตาม

กำหนดวิธีวางแผนการเงินตามช่วงวัยแบบไหนถึงเหมาะกับเรา

สิ่งสำคัญต่อมาหลังจากทราบถึงวิธีการวางแผนทางการเงินเบื้องต้นแล้วก็คือ การประยุกต์ใช้แผนการเงินนั้นให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้แผนดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์ และสร้างความมั่งคั่งตลอดทุกช่วงชีวิต ซึ่งในแต่ละช่วงวัยก็จะมีรายรับ-ร่ายจ่าย ภาระหนี้สิน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น

- วิธีวางแผนการเงินใน วัยเรียน ที่ยังไม่มีความซับซ้อน สามารถเน้นไปที่การเก็บออมเงิน และจัดสรรรายรับ-รายจ่าย เพื่อฝึกนิสัยให้มีทัศนคติที่ดีต่อการวางแผนการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย

- วิธีวางแผนการเงินใน ฉบับมนุษย์เงินเดือน เป็นวัยที่เริ่มมีรายจ่ายเยอะกว่าวัยอื่น ๆ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นการสร้างเนื้อสร้างตัว และยังมีค่าใช้จ่ายด้านสังคมเพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดสรรเงินอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะการออม การลงทุน การจ่ายภาษี และบริหารหนี้สิน ล้วนแล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ

-วิธีวางแผนการเงิน หลังเกษียณ ขึ้นชื่อว่าเป็นวัยเกษียณ ถ้าจะให้ลุกออกไปทำงานก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกนั้น เนื่องจากสุขภาพไม่ได้แข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว จึงทำให้การใช้เงินยิ่งต้องระวังมากขึ้น โดยปัญหาการเงินสำคัญที่วัยนี้จะได้เผชิญก็คือ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ดังนั้นการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพเอาไว้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไปพอสมควร

วางแผนการเงินให้เหมาะกับคุณด้วยคำแนะนำจาก บล.หยวนต้า

จากที่กล่าวไปไม่ว่าช่วงชีวิตไหนก็ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางการเงินได้ ถ้าหากไม่มีแผนการทางการเงินรองรับเอาไว้ ตอนที่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านั้นคงจะเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ ถึงแม้ว่าการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้แต่มันก็มีโอกาสสูงที่บัญชีจะเกิดความคลาดเคลื่อนจากการจำรายจ่ายผิด นอกจากนี้การขาดประสบการณ์ด้านการเงิน การลงทุน จะทำให้คุณอาจถึงทางตันและอาจจะไม่ทราบเลยว่าควรนำเงินออมไปลงทุนอย่างไรถึงจะได้ผลกำไรมากกว่าขาดทุน

ดังนั้น บล.หยวนต้า พร้อมเป็นตัวช่วยในการออกแบบวิธีวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับคุณ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย มีผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คอยช่วยวิเคราะห์ให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมมือกับคุณกำหนดเป้าหมายทางการเงินในอนาคตอย่างมั่นคงและมั่งคั่ง

หากมีความสนใจที่จะเริ่มต้นวางแผนทางการเงิน แต่ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า วิธีวางแผนการเงิน แบบไหนเหมาะกับคุณ อยู่สามารถติดต่อ บล.หยวนต้า เข้ามาเพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้ได้เลย

Call Center:        0 2009 8888

Online Service: 0 2009 8000