ถึงเวลาเตรียมเครื่องมือเทรดหุ้นและอนุพันธ์ต่อกรกับหุ่นยนต์ Robot Trading
Robot Trade กับ A.I. Trade ต่างกันอย่างไร
การซื้อขายหุ้นโดยใช้หุ่นยนต์หรือที่เรียกว่า Robotic Trade ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกาหรือยุโรป โดยคุณปณตได้ให้คำจำกัดความของ Robot Trade และ A.I. Trade ว่า Robot Trade คือการทำในสิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำ ซ้ำ ๆ หรือสิ่งที่เรารู้จุดประสงค์ชัดเจนอยู่แล้ว ในการใช้งานทำโดยการเขียน Algorithm ให้ระบบทำงานให้ ในขณะที่ A.I. Trade เป็นการสอนให้ Robot สามารถคิดและวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ของการเทรดในกรณีต่าง ๆ
ซึ่งบริษัทคุณปณตเองก็มีการนำ Robot มาใช้ เช่น นำ Robot มาใช้ในการ key order ซึ่งมีจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญคือบริษัทจะต้องรู้อยู่แล้วว่าจุดประสงค์ในการเทรดคืออะไร (concept > programming > robotic trade) อย่างไรก็ตาม Robot เองก็สามารถทำผิดพลาดได้เช่นเดียวกันกับมนุษย์ จึงต้องมีการตั้งข้อจำกัดต่าง ๆ ให้กับ Robot เช่น ห้ามเทขายออกมาทั้งพอร์ตได้ เป็นต้น
ในประเทศไทยมีการใช้ Robot Trade อย่างไรบ้าง?
คุณเจตอาทรอธิบายถึงตลาดอนุพันธ์ซึ่งมีการใช้ Robot มากกว่าตลาดหุ้น ทุกวันนี้ตลาดที่มีการเทรดมากที่สุดคือ Single Stock Futures (ประมาณ 60% ของ Volume ทั้งหมด) ส่วนหนึ่งเพราะ Block trade ใน Single Stock Futures ซึ่ง Yuanta มีการให้บริการ Block Trade ด้วยโดยไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพคล่อง และไม่ต้องห่วงเรื่องการใช้ robot เนื่องจาก block trade ต้องใช้คนเท่านั้น
ในตลาดอนุพันธ์ไทยจะมีเพียง SET 50 Index Futures และ Gold Futures ที่มีการใช้ Robot ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนรายย่อยก็สามารถใช้ Robot เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบัน เสียเปรียบเพียงความเร็วในการส่งคำสั่งบ้างเพราะสถาบันหรือต่างชาติจะมีการทำ Colocation (เอาระบบไปวางใกล้กับตลาดมากที่สุด) และ DMA (การต่อท่อตรงเข้าตลาด)
ในประเทศไทยปริมาณการใช้ Robot ในการเทรดมีน้อยกว่าเทรดด้วยคน และตลาดอนุพันธ์ประเทศไทยยังคงเป็นรายย่อยที่ครองตลาด ซึ่งจะมีเฉพาะ Single Stock Futures ที่มีปริมาณการเทรดจากนักลงทุนสถาบันมากถึง 49% และมีเฉพาะ SET 50 Index Futures ที่มีการใช้ Robot ในการส่งคำสั่ง
การซื้อขายรูปแบบต่าง ๆ เช่น Algorithm Trading, Robot Trading, High Frequency Trading, และ System Trading แตกต่างกันอย่างไร
คุณปณตแยกกลยุทธ์หลักของ Robot Trade เป็น 4 ประเภทดังนี้
1) Algorithm Trading: เป็นการเขียน logic การเทรดออกมาให้อยู่ในรูปชุดคำสั่ง ซึ่งจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเทรดกำหนดไว้ตายตัวก่อนการใช้งาน
2) Robot Trading: สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ Robot มาช่วยในการส่งคำสั่งซ้ำ ๆ หรือพัฒนา Robot เป็น A.I. ที่มีความคิด สามารถคิดและพัฒนากลยุทธ์การซื้อขายได้ด้วยตัวเอง
3) High Frequency Trading: จริง ๆ แล้วมีหลายนิยามสำหรับ High Frequency Trading ส่วนมากในประเทศไทยเน้นด้านความรวดเร็วในการส่งคำสั่ง แต่ในต่างประเทศอาจหมายรวมถึงการทำรอบของการเทรดให้มากขึ้น
4) System Trading: ระบบโดยรวมทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบและกลยุทธ์การเทรดที่ใช้ โดย System Trading จึงหมายความถึง package ของชุดคำสั่งที่พร้อมจะป้อนข้อมูล ไม่ว่าจะใช้คนหรือ robot ก็ได้
เทคโนโลยี A.I. คืออะไร และสามารถนำมาช่วยการลงทุนได้อย่างไร
คุณเจตอาทรอธิบายว่า A.I. จะเป็น Robot หรือไม่ก็ได้ ซึ่ง A.I. จะเน้นในการคำนวณหากลยุทธ์ในการซื้อขาย และเมื่อได้กลยุทธ์แล้ว เทรดด้วยคนก็ไม่ถือว่าเป็น Robot แต่ถ้าเป็นการส่งคำสั่งไปที่ Robot แบบอัตโนมัติก็จะถือว่าเป็น Robot โดยจุดเด่นของ A.I. คือ สามารถประมวลผลและเรียนรู้จากอดีตได้
คุณเจตอาทรกล่าวว่า การทำงานของ A.I. ขึ้นอยู่กับความต้องการที่เราใส่ว่าจะใส่น้ำหนักที่ปัจจัยไหนมากที่สุด โดย A.I. จะคำนวณจากโจทย์ที่เราให้ไป เช่น ต้องการความผันผวนต่ำสุด หรือ ต้องการผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงที่สุด
A.I. มีข้อจำกัดอย่างไร
คุณปณตกล่าวว่า A.I. คือแบบจำลองของสมองมนุษย์ ใช้ในการจำลองระบบและลำดับคิดเชิงมนุษย์ แต่ไม่สามารถมีความสามารถเกินมนุษย์ได้ การพิจารณาใช้ A.I. ต้องดูโจทย์หรือหลักคิดที่ตั้งให้กับ A.I. ในแต่ละขั้นตอน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามี model การลงทุนที่ดีและเหมาะสมก็ไม่ต้องกลัว A.I.
เครื่องมือที่ Yuanta มีให้กับนักลงทุนเพื่อต่อกรกับ Robot มีอะไรบ้าง
1) ระบบ MT4 ใช้กับตลาด TFEX เพื่อให้นักลงทุนทำ System trading ด้วยตัวเอง ในการทำงานนักลงทุนต้องให้ logic ที่ต้องการ ซึ่ง Logic ที่ดีจะต้องผ่านการพิจารณาเรื่องข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น เงินทุน, ระยะเวลาในการลงทุน, ความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักลงทุนแต่ละคน
2) Stock Rating+ มีการใช้ A.I. ให้คะแนนหุ้น โดยใช้ปัจจัย Fundamental, Technical และ Quantitative เข้ามาโดยการให้คะแนนของแต่ปัจจัย และคะแนนรวมเพื่อให้คำแนะนำการลงทุนกับ A.I. ของ Yuanta
3) Sensify A.I. ในการวิเคราะห์ข่าว ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข่าวของทุก social media และ website ซึ่งจะมีการวิเคราะห์แนวโน้มของข่าวที่จะกระทบต่อราคาหุ้น โดยวิเคราะห์ sentiment ของข่าวผ่าน 5 ปัจจัยคือ Relative Valuation, Growth Driver, Asset Management, Profitability Driver, Liquidity Driver
4) Alpha Wealth โดยเปิดบริการสำหรับนักลงทุนที่นำเงินมาให้ Yuanta ลงทุนให้ ประกอบด้วย 2 ส่วน
• หุ้นไทย – ใช้ A.I. ในการ screen และให้น้ำหนักการลงทุน
• หุ้นต่างประเทศ – ใช้นักวิเคราะห์เป็นหลักและใช้กลยุทธ์จาก Yuanta Global
มีการกระจายการลงทุนตามกลยุทธ์ของ Yuanta Global แต่การให้น้ำหนักการลงทุนจะใช้ A.I. ในการกระจายน้ำหนักการลงทุนทั้งหุ้นไทยและ Global Asset Allocation โดยจุดประสงค์ คือ “เน้น survival” เพราะฉะนั้นจะลงทุนในหุ้นอย่างเดียวไม่ได้ และกระจายความเสี่ยงออกไปโดยแบ่งเป็น เสี่ยงต่ำ/ กลาง/ สูง