จะเปิดพอร์ตหุ้นทั้งที มือใหม่เพิ่งเริ่มลงทุนต้องคิดหนักกันอย่างแน่นอนว่าจะเลือกโบรคเกอร์หุ้นไหนที่ใช่สำหรับเรา การเลือกโบรคเกอร์หุ้นเองก็สำคัญไม่แพ้กับการเลือกหุ้นดีๆ สักตัวเช่นกัน เพราะการดูแลเงินและพอร์ตการลงทุนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ โบรคเกอร์จึงต้องทำหน้าที่ดูแลเงิน และพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนด้วย นี่จึงเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่นักลงทุนจะต้องหาโบรคเกอร์ที่ไว้ใจได้มาดูแลให้ หากเป็นเช่นนั้นเราจะมีวิธีเช็คดูอย่างไรถึงจะเจอโบรคเกอร์หุ้นที่ไว้ใจได้กันล่ะ ?
เคล็ด(ไม่)ลับในการเลือกโบรคเกอร์หุ้นที่จริงใจ
1.โบรคเกอร์หุ้นที่ดีต้องถูกกฎหมาย
โบรคเกอร์หุ้นที่ดีต้องถูกกฎหมาย ถูกกฎหมายในที่นี้ไม่ใช่ถูกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ต้องถูกทั้งตัวโครงสร้างของบริษัท ผู้บริหาร นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ไปจนถึงผู้ติดต่อกับนักลงทุน (Investment Consultant : IC) หรือที่สมัยก่อนเรียกว่า “มาร์เก็ตติ้ง” หรือ “เจ้าหน้าที่การตลาด” ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้สามารถประกอบอาชีพได้ คล้ายๆ กับอาชีพหมอหรือวิศวกร ที่ต้องมีใบอนุญาตวิชาชีพในการทำงาน ไม่ใช่โบรคเกอร์เถื่อนที่โฆษณาชวนเชื่อแอบแฝงตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือมีบุคคลแอบอ้างมาชักชวนเปิดพอร์ตหุ้นผ่านทางโซเชียลมีเดียที่ไม่มีที่มาที่ไป
2.มีมาตรฐานในการบริหารงานที่ดี
ลองสืบค้นข้อมูลดูว่าระบบการบริหารของโบรคเกอร์หุ้นนั้นเป็นอย่างไร คณะผู้บริหารมีประสบการณ์ ความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องของธุรกิจหลักทรัพย์หรือไม่ เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อด้วยมีความรู้ความชำนาญ ตอบข้อสงสัยได้ดีมากระดับไหน มีเครื่องมือเพียบพร้อมที่จะให้บริการทั้งในส่วนของการติดต่อซื้อขายผ่านผู้ติดต่อกับนักลงทุนโดยตรงและซื้อขายผ่านระบบออนไลน์หรือไม่ ระบบการปฏิบัติงานต้องได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ไม่มีประวัติการบริหารงานและการปฏิบัติงานที่เข้าข่ายขัดต่อกฎหมายโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
3.ต้องมีสถานะการเงินที่มั่นคง
เข้าใจง่ายๆ ก็คือ โบรคเกอร์หุ้นนั้นจะต้องมีผลการดำเนินงานที่ดี และที่สำคัญต้องมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว มีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการชำระคืนให้แก่ลูกค้าและเจ้าหนี้ของโบรคเกอร์ โดยหากโบรคเกอร์หุ้นนั้นเกิดปัญหาทางการเงินขึ้น จะสามารถตรวจเช็คดูได้จากตัวเลข “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (Net Capital Rule : NCR)” ในรายงานประจำปีของแต่ละโบรคเกอร์ ซึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้เท่านั้น
4.มีบทวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้
บทวิเคราะห์ถือเป็นเครื่องทุ่นแรงสำคัญที่นักวิเคราะห์สรุปออกมาเพื่อให้นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน แต่ทันทีที่เห็นบทวิเคราะห์ นักลงทุนหลายๆ ท่านก็จะพุ่งความสนใจไปที่ “เป้าหมายราคา” ทันที โดยไม่ศึกษาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม และหลายๆ ครั้งที่นักลงทุนมักซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์กันแล้วราคาหุ้นกลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ก็จะปักใจทันทีว่าบทวิเคราะห์ของโบกเกอร์หุ้นนั้นไม่น่าเชื่อถือ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว อาจมีประเด็นการลงทุน รวมไปถึงสมมติฐานที่ใช้ในการทำประมาณการทางการเงินแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทด้วย
ซึ่งทางที่ดีนักลงทุนควรอ่านบทวิเคราะห์ของแต่ละโบรคเกอร์อย่างละเอียด และพิจารณาว่าบทวิเคราะห์ของบริษัทไหนมีประเด็นการลงทุนอะไรบ้าง มีสมมติฐานที่ใช้ในการทำประมาณการทางการเงินต่างๆ อย่างไร พยายามแกะรอยว่าโบรคเกอร์หุ้นนั้นนำประเด็นเหล่านี้ไปเชื่อมโยงเข้ากับตัวเลขในการคาดการณ์ต่างๆ ออกมาได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าบทวิเคราะห์ของบริษัทไหน น่าเชื่อถือและสมเหตุสมผลมากกว่ากัน
5.มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
แม้โบรคเกอร์หุ้นที่นักลงทุนแอบเลือกไว้ในใจ จะผ่านเช็คลิสมาได้เกือบครึ่งทางแล้ว แต่ก็อย่าพึ่งด่วนตัดสินใจว่าจะเป็นโบรคเกอร์หุ้นที่ดี นักลงทุนยังต้องพิจารณาถึงอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่โบรคเกอร์นั้นๆ จะเรียกเก็บด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าการซื้อขายในแต่ละครั้ง แต่บางโบรคเกอร์อาจกำหนดเป็นค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ เช่น 50 บาท หรือ 200 บาท ขณะที่บางโบรคเกอร์อาจไม่มีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขั้นต่ำเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น นักลงทุนควรพิจารณาถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่โบรคเกอร์จะเรียกเก็บด้วยล่ะ ว่าบริการต่างๆ ที่ได้รับนั้นเหมาะสมและคุ้มค่ากับเงินที่เราต้องจ่ายไปหรือไม่
6.มีไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับเรา
ต้องดูว่าโบรคเกอร์หุ้นนั้นเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเราด้วยหรือไม่ เช่น ถ้าเราถนัดซื้อขายหุ้นออนไลน์ ต้องดูว่าโบรคเกอร์หุ้นนั้นมีความเชี่ยวชาญการบริการงานออนไลน์หรือไม่ มีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีต่างๆ มากน้อยแค่ไหน
7.การบริการหลังการขายที่มีมาตรฐาน
การให้บริการหลังการซื้อขายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโบรคเกอร์หุ้นที่มีมาตรฐานควรจะต้องมี เทคนิคง่ายๆ ในการตรวจสอบก็คือ การติดต่อสอบถามไปยังโบรคเกอร์หุ้นนั้นๆ ดู ว่าการรับจ่ายเงินจากการซื้อขายนั้นเป็นอย่างไร เช่น มีการให้บริการกับแบงก์ไหนบ้าง เพราะการรับจ่ายเงินทำผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ ที่เรียกว่า ATS นักลงทุนจำเป็นจะต้องมีบัญชีกับธนาคารเหล่านั้น รวมไปถึงระบบการโอนเงิน / โอนหุ้น การติดตามและดูแลผลประโยชน์ต่าง ๆ ก็ควรพิจารณาให้ดีt
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หวังว่าจะช่วยให้เหล่านักลงทุนมือใหม่สามารถเลือกและตัดสินใจได้แล้วไม่มากก็น้อย ว่าจะเลือกเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรคเกอร์หุ้นที่ไหนดี ซึ่งหากยังไม่มีโบรคเกอร์หุ้นไหนในลิสที่ตรงใจ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด อาจเป็นโบรคเกอร์หุ้นที่ตรงใจคุณ !
โบรคเกอร์หุ้นที่จริงใจ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมดูแลนักลงทุนทุกท่านด้วยประสบการณ์ที่ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปี เชื่อใจได้ถูกกฎหมายทุกโครงสร้างบริษัท เพียบพร้อมด้วยบุคลากรที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต.
มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 4.5 พันล้านบาท มั่นคง เชื่อถือได้ และได้รับการจัดอันดับ Rating ที่ระดับ AA(tha) โดยฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม และการให้บริการนักลงทุนในประเทศไทย
มีนักวิเคราะห์ และบทวิเคราะห์ครบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เชื่อถือได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากเครื่องมือวิเคราะห์ภาวะการณ์ลงทุนซึ่งสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้หลากหลายและตรงจุด เพื่อสร้างกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างที่นักลงทุนคาดหวัง และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ครบถ้วนทุกด้านในการให้บริการ มอบประสบการณ์ที่ดีต่อนักลงทุนด้วยความเป็นมิตรต่อลูกค้า สร้างความไว้วางใจในการลงทุนด้วยการบริการที่ครบวงจร พร้อมดูแลหลังการขาย
ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ !* รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (Link: อัตราค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ) *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด*
รองรับปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่ใช่สำหรับนักลงทุน ให้นักลงทุนสามารถเปิดพอร์ตหุ้นซื้อขายได้ตรงใจ ครบจบได้ในที่เดียว
หากสงสัยหรือสนใจ ต้องการให้หยวนต้าดูแลพอร์ต และเป็นที่ปรึกษาการลงทุนของคุณ สามารถติดต่อสอบถามเราได้ทุกช่องทางการติดต่อ